หน้าแรก

หากพูดถึงประเทศโบลิเวีย หลายท่านคง เอ๊ะ!!! ประเทศอะไรนะ ขออีกครั้ง ใช่ไหมคะ เพราะประเทศโบลิเวียเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนที่สูง ไม่มีพื้นที่ติดทะเล อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ คงไม่ได้มีความโดดเด่นอะไรที่จะทำให้เราคุ้นเคย ต่างกับบราซิลเพื่อนบ้านของโบลิเวีย ที่มิตรชาวไร่จะรู้จักเป็นอย่างดีในฐานะผู้ผลิตอ้อยและน้ำตาลรายใหญ่ของโลก

แล้วโบลิเวียมีดีอย่างไร ทำไมเราต้องพูดถึง…ที่พูดถึงโบลิเวียวันนี้ เพราะเขาเป็นประเทศร้อนแล้งที่สร้างโรงเรือนปลูกผักใต้ดิน เลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนในครอบครัวได้ตลอดทั้งปี ประเทศที่มีทรัพยากรมากมายอย่างไทย บางพื้นที่ยังปลูกพืชผักได้น้อยกว่าโบลิเวียด้วยซ้ำ เขามีวิธีจัดการอย่างไรไปติดตามกันค่ะ

เทือกเขาแอนดีสบริเวณประเทศโบลิเวียในทวีปอเมริกาใต้ มีที่ราบสูงที่ชาวโบลีเวียเรียกว่า อัลติพลาโน (Altiplano) หรือที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในที่ราบสูงอันกว้างใหญ่และอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก อีกทั้งยังมีสภาพอากาศรุนแรงสุดขั้วแห่งหนึ่งของโลก ทำให้การทำเกษตรกรรมไม่ใช่เรื่องง่าย เกือบ 60% ของเกษตรกรในประเทศนี้อาศัยอยู่บนที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศสุดขั้วทั้งความแห้งแล้ง น้ำค้างแข็ง กระแสลมแรง และแสงแดดที่แผดเผา

แต่เมื่อ 25 ปีก่อน นายปีเตอร์ อิเซลลี อาสาสมัครชาวสวิส ได้นำแนวคิดใหม่ในการเพาะปลูกมาถ่ายทอดให้คนท้องถิ่นได้ใช้กัน นั่นคือการทำโรงเรือนใต้ดินที่ชนพื้นเมืองชาวไอมารา เรียกว่า "วาลีปินี" (Walipini) ซึ่งมีความหมายว่า "ที่อบอุ่น"

นายแกเบรียล กอนโด อาปาซา ชาวโบลิเวียเล่าว่า วาลีปินีช่วยให้เขาไม่ต้องไปซื้อผักที่ตลาดอีกต่อไป เพราะปัจจุบันสามารถปลูกพืชผักได้เพียงพอสำหรับเลี้ยงปากท้องคนทั้งครอบครัวตลอดทั้งปี

ซึ่งวิธีการสร้าง วาลีปินี มีขั้นตอนดังต่อนี้

  1. ขุดหลุมลึก 1 เมตร
  2. ก่อผนังและหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ
  3. ปูพื้นด้วยก้อนหิน
  4. ติดตั้งหลังคาใสให้ทำมุมเอียง 30 องศา ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยเก็บกักความชื้นและลดความต้องการใช้น้ำในการเพาะปลูกลง

โบลิเวียสร้าง-003.jpg

จากข้อมูลข่าวนี้ วิเคราะห์ได้ว่า ปัจจุบันสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกจริง แต่นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ถูกมนุษย์พัฒนาขึ้น สามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้ เพียงแค่ทดลองและลงมือทำ ปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้ถูกจุด ทำให้รู้ว่า “อะไรก็เกิดขึ้นได้ถ้ามีนวัตกรรม”

ขอบคุณที่มาที่มา : www.bbc.com

ข่าวปักหมุด