หน้าแรก

รู้หรือไม่ว่า วัชพืชเถาเลื้อย มีผลต่อการเจริญเติบโตของอ้อยและทำให้รถตัดทำงานได้ไม่สะดวก ซึ่งอ้อยต้องการช่วงปลอดวัชพืชอย่างน้อย 3–4 เดือนหลังปลูก ดังนั้น การจัดการวัชพืชในช่วงแรกหลังจากปลูกอ้อยจึงมีความสำคัญต่อการงอก การแตกกอ และการเจริญเติบโตของอ้อย

มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มขอแนะนำเทคนิคการกำจัดวัชพืชเถาเลื้อย ง่าย ๆ ดังนี้

อ้อยปลูกใหม่

  • พ่นสารอินดาซิแฟลม อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อไร่ + สารซัลเฟนทราโซน 250 ซี.ซี. ต่อไร่ หลังจากปลูกอ้อยและให้น้ำเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ดินมีความชื้นก่อนพ่นสารควบคุมวัชพืช
  • ห้ามให้น้ำต่ออ้อย ภายใน 5-7 วัน หลังพ่นสารควบคุมวัชพืช

อ้อยตอ

  • พ่นสารอินดาซิแฟลม อัตรา 20 ซี.ซี. ต่อไร่ + สารซัลเฟนทราโซน 250 ซี.ซี. ต่อไร่ หลังจากตัดอ้อยและให้น้ำ เพื่อให้ดินมีความชื้นก่อนพ่นสารควบคุมวัชพืช
  • พ่นสารคุมวัชพืชโดยฉีดทับใบอ้อยได้
  • ห้ามพ่นสารควบคุมวัชพืชกรอกยอดอ้อย
  • ห้ามให้น้ำ ภายใน 5-7 วันหลังพ่นสารควบคุมวัชพืช

ข้อควรระวัง

หากพบวัชพืชเถาเลื้อย หลังจากการใช้สารควบคุมวัชพืชแบบก่อนงอก ควรสำรวจชนิดของวัชพืชเถาเลื้อยที่งอกขึ้นมา เพื่อเลือกวิธีจัดการให้เหมาะสมกับชนิดของวัชพืชและต้นทุนในการจัดการ เช่น การใช้เครื่องจักรกล การใช้แรงงานคน หรือ การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอก เป็นต้น

ซึ่งหากเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอก ต้องเป็นสารประเภทเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง เช่น ทู โฟร์ ดี ไดเมทิลแอมโมเนียม อัตรา 400 ซี.ซี. ต่อไร่ ไตรคลอเพอร์ อัตรา 125 ซี.ซี. ต่อไร่ หรือ ทู โฟร์ ดี + พิคลอแรม อัตรา 400 ซี.ซี. ต่อไร่ เป็นต้น ซึ่งข้อจำกัดของการใช้สารควบคุมวัชพืชแบบหลังงอกประเภทนี้ คือ ไม่สามารถกำจัดวัชพืชใบแคบได้

เมื่อทราบวิธีการจัดการวัชพืชเถาเลื้อยแล้ว มิตรชาวไร่ต้องลองพิจารณาความเหมาะสมในการเลือกใช้แต่ละวิธี ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

ข่าวปักหมุด