หน้าแรก

แม้โดยภายรวมประเทศไทยจะมีเกณฑ์ฝนตกค่อนข้างดี แต่ในบางปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้แผนกักเก็บน้ำของเกษตรกร รวมไปถึงหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่จัดสรรน้ำเพื่อประชาชนทั้งประเทศ ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ความคลาดเคลื่อนของดินฟ้าอากาศ เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ หาผู้กระทำผิดมาลงโทษก็ไม่ได้ สิ่งที่ประชาชนทำได้คือ เตรียมพร้อมรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลง น้ำมากก็ต้องรีบกักเก็บ มากเกินไปก็เกิดเป็นภัยน้ำท่วม พอน้ำน้อยก็ไม่พอใช้ น้อยไปกันใหญ่ก็เรียกว่าแล้ง เพราะฉะนั้นการเตรียมการที่รัดกุมจึงเป็นเรื่องสำคัญ

แน่นอนว่าแผนจัดสรรน้ำเป็นหน้าที่หลักของกรมชลประทาน ซึ่งในแต่ละปีมีโครงการพัฒนาระบบชลประทานต่อเนื่องทั้งโครงการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ทั่วประเทศ เพื่อให้พี่น้องชาวไทยมีน้ำใช้เพียงพอทั้งอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ รองรับด้านการเกษตร รวมไปถึงด้านอุตสาหกรรม เป็นต้น

ในปีนี้ภายหลังกรมชลประทานเปิดเผยแผนการจัดสรรน้ำ และคาดการณ์ปริมาณน้ำในบางเขื่อนที่อาจไม่เพียงพอต่อการใช้งานในช่วงแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 จนถึง เดือนเมษายน 2563  รวมไปถึงปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลักของประเทศมีปริมาตรน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะพี่น้องชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มักโดนวิกฤตภัยแล้งหนักกว่าภาคอื่น ซึ่งแล้งหน้าพื้นที่เสียงภัยน้ำไม่เพียงต่อการเกษตรคือพื้นที่รอบเขื่อนอุบลรัตน์ เนื่องจากปริมาตรน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศ และพืชที่ใช้น้ำน้อยเท่านั้น อาจไม่เพียงพอต่อกิจกรรมเพาะปลูกบางประเภท อาทิ การเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2

ลุ่มน้ำมูล-003.jpg

ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำมูล หายกังวลได้บ้างเนื่องจากได้รับน้ำจากหลายเขื่อนย่อย อาทิ เขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนมูลบน เขื่อนลำแชะ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนสิรินธร ด้านลุ่มน้ำโขง ก็สามารถรับน้ำจากเขื่อนห้วยหลวงกับเขื่อนน้ำอูนได้ ซึ่งเหล่านี้คาดว่ามีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง  แยกเป็น นาข้าว ไม้ผล-ไม้ยืนต้น พืชไร่-พืชผักและอื่น ๆ

ทั้งนี้กรมชลประทานมีแผนช่วยเหลือเกษตรกรรับมือภัยแล้งไว้บ้างแล้ว อาทิ เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ และรถยนต์บรรทุกน้ำ ที่กระจายตามสำนักงานชลประทานทั่วประเทศ ซึ่งพร้อมให้ความช่วยเหลือการอุปโภค-

บริโภคในเขตส่งน้ำของกรมชลประทาน ซึ่งเกษตรกรสามารถขอความช่วยเหลือได้โดยส่งข้อมูลความต้องการให้กับโครงการชลประทานที่รับผิดชอบนั้น ๆ

ซึ่งความช่วยเหลือของหน่วยงานราชการอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ฉะนั้นแล้วการพึ่งพาตนเองจึงเป็นอีกประเด็นที่สำคัญในกรณีที่เกษตรกรมีกำลังเพียงพอในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เกษตรของตน และอีกเรื่องที่ยังไม่สายเกินไปคือ การคิด วางแผน เพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตนเอง หากทำได้ แม้จะเกิดภัยแล้งแห้งขอดเพียงใด ก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้แน่นอน.

ข้อมูลจาก: แผนบริหารจัดการน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้งปี 2562/63 หน้า 56-57

http://water.rid.go.th/

http://gifts.worldvision.or.th/

ข่าวปักหมุด