หน้าแรก

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศบราชิล ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลกได้ปรับเปลี่ยนความสนใจหลักไปที่การผลิตเอทานอล และกลายเป็นประเทศผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ที่สุดลําดับสองของโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อโรงงานน้ำตาลส่วนใหญ่ของบราซิล หันไปผลิตเอทานอลแทน มีการคาดการณ์กันว่าปริมาณการผลิตน้ำตาลในพื้นที่ปลูกอ้อย หลักของประเทศ จะลดระดับลงต่ำสุดในรอบ 14 ปี

ประเทศบราชิล-003.jpg

ประเทศบราซิล เป็นประเทศผู้ผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลรายใหญ่ที่สุดลำดับสองของโลก ต้องเผชิญกับปัญหาราคาน้ำตาลตกต่ำ เนื่องจากนโยบายการอุดหนุนอุตสาหกรรมส่งออกน้ำตาลของอินเดีย ดังนั้น การสลับมามุ่งเน้นการผลิตเอทานอลแทน จึงมีส่วนช่วยแก้ปัญหาราคาน้ำตาลในตลาดโลก และเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐ ที่จะเพิ่มระดับอุปสงค์ต่อเชื้อเพลิงชีวภาพด้วยเช่นกัน ในทางกลับกัน การหันมามุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล กลับยิ่งทําให้ยอดการผลิตน้ำตาลลดต่ำลง

ตามข้อมูลของ UNICA หรือสมาพันธ์อุตสาหกรรมอ้อยแห่งประเทศบราซิล (Brazilian Sugarcane Industry Association) มีการคาดการณ์ว่า ยอดการผลิตน้ำตาลในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างจะลดต่ำลงในอัตรา 5.7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี มาอยู่ที่ระดับเพียง 25 ล้านเมตริกตัน ซึ่งเป็นยอดการผลิตในระดับต่ำสุด นับจากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 - 2549 เป็นต้นมา ข้อมูลประกอบถูกรวบรวมจากผู้ที่มีความคุ้นเคยกับประเด็นดังกล่าว แต่ไม่มีการเปิดเผยตัวตน เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลส่วนตัว ดังนั้นในตอนนี้ UNICA จึงวางแผนที่จะนําเสนอข้อมูลการคาดการณ์ชุดใหม่กับคณะกรรมาธิการของรัฐบาลแห่งประเทศบราซิล ซึ่งทําหน้าที่จับตาดูระดับอุปทานเอทานอลอยู่

ตอนนี้ โรงงานน้ำตาลของประเทศบราซิลหันไปผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพแทน หลังจากที่ผลิตผลล้นเหลือจากประเทศไทยและอินเดียหลั่งไหลท่วมทันตลาดโลก ส่งผลให้ราคาดิ่งลงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำตาล (Raw Sugar Future) ที่ซื้อขายกันในนิวยอร์ก มีมูลค่าหดลงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จากช่วงที่มีราคาสูงสุดในปี พ.ศ. 2659 ก่อผลกระทบเชิงลบต่อบรรดาผู้ผลิตน้ำตาลของบราซิล ที่ต้องเผชิญหน้ากับอุปสงค์ส่วนเกินในตลาด รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐ ที่ช่วยให้โรงงานน้ำตาลอินเดียสามารถส่งออกผลิตผลได้มากขึ้น

ตัวเลขดังกล่าวช่วยให้ผู้ค้าได้มีความเข้าใจกระจ่างเป็นครั้งแรก ต่อแนววิธีคิดของกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งตกลงใจที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลผลการพยากรณ์ใดๆด้วยสาเหตุที่ว่าต่อภาคสาธารณะ หากแต่เลือกที่จะนําเสนอข้อมูลการประมาณการณ์ต่อทางรัฐบาลเท่านั้น

ในภาคอุตสาหกรรม ส่วนต่างยอดการผลิตเอทานอลจะเพิ่มเกินหน้ายอดการผลิตน้ำตาลในช่วงเดียวกันของปีก่อน มีการรายงานว่าโรงงานน้ำตาลจะมีการแปรรูปอ้อยกว่า 578 ล้านตันในฤดูกาลผลิตนี้ ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วราว 1 เปอร์เซ็นต์ ข้อมูลที่ว่าอาจจะเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจจากผู้ค้าบางราย เนื่องจากคณะผู้เชี่ยวชาญสินค้าการเกษตร (Green Pool Commodity Specialists) กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ปริมาณการแปรรูปอ้อยโดยประมาณจะเพิ่มขึ้นจาก 580 เป็น 590 ล้านตัน ส่วน Brisbane องค์กรวิจัยจากประเทศออสเตรเลีย ก็รายงานผลการพยากรณ์จำนวนอ้อยที่จะถูกนําไปใช้ในการผลิตเอทานอลไว้ที่ระดับ 581 ล้านตัน

นอกจากนี้ ตามผลการคาดการณ์ของ UNICA ปริมาณน้ำตาลในอ้อยนั้นคาดว่าจะลดลงราว 3.2 เปอร์เซ็นต์จากค่าเฉลี่ยของปีก่อนหน้า สําหรับข้อมูลค่าประมาณการณ์ต่างๆ ของ UNICA รายละเอียดเกี่ยวกับยอดการแปรรูปอ้อย ปริมาณผลิตภัณฑ์และผลิตผล จะ ถูกเปิดเผยออกมาในช่วงครึ่งแรกของเดือนสิงหาคม

ข่าวปักหมุด