หน้าแรก

ปัจจุบันการทำเกษตรกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการนำเครื่องจักรทางการเกษตรเข้ามาใช้งานมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาแรงงานคนในการทำเกษตรกรรม ซึ่งลดน้อยลง และค่าแรงแพงขึ้นกว่าเมื่อครั้งอดีต

การทำไร่อ้อยในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นการทำไร่อ้อยสมัยใหม่ โดยเฉพาะการทำไร่อ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ที่เน้นการนำเครื่องจักรเข้ามาใช้งานแทนแรงงานคน ดังนั้นเมื่อมิตรชาวไร่ต้องพึ่งพาเครื่องจักรมากขึ้น การออกแบบแปลงให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องจักรจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

Headland (เฮดแลนด์) หรือ พื้นที่บริเวณหัวแปลง ท้ายแปลงของไร่อ้อย ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเว้นระยะให้เหมาะสมต่อการเคลื่อนไหว การกลับตัว ของเครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะรถตัดอ้อย รถขนอ้อย รถแทรกเตอร์ เป็นต้น

Headland-003.jpg

หลักการทำเฮดแลนด์ เน้นเรื่องเส้นทางการเลี้ยวของเครื่องจักรขนาดใหญ่ อาทิ รถแทรกเตอร์ รถตัดอ้อย รถกระเช้า รถบิน ที่มิตรชาวไร่ต้องใช้งานในขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูก การบำรุงรักษา รวมไปถึงการเก็บเกี่ยวอ้อย ซึ่งระยะการเว้นพื้นที่เฮดแลนด์ ขึ้นอยู่กับสถานที่จริงของแต่ละพื้นที่ ขนาดของรถแทรกเตอร์ที่ใช้งาน และความยาวความกว้างของเครื่องมือ โดยทั่วไปให้เว้นระยะประมาณ 6 เมตร เพื่อให้เหมาะสมเพียงพอต่อความยาวของรถแทรกเตอร์เฉลี่ยที่ 3.8 - 4.2 เมตร เมื่อรวมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงข้างหลังรถแทรกเตอร์ประมาณ 2-3 เมตร

ประโยชน์ของการทำเฮดแลนด์ (Headland)

  1. ประหยัดเวลาในการทำงานของเครื่องจักร ถ้าเราเว้นหัวแปลงท้ายแปลงให้รถมีพื้นที่เลี้ยวได้สะดวก การทำงานของเครื่องจักรจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยวรถแต่ละครั้ง
  2. ประหยัดค่าใช้จ่าย เมื่อเราทำเฮดแลนด์ จังหวะการเลี้ยวของรถแทรกเตอร์ การกลับหัวต่าง ๆ จะทำได้สะดวก ใช้เวลาทำงานน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการทำงาน ยกตัวอย่าง เช่น การทำงานของรถตัดอ้อยในแปลงอ้อยทั่วไปที่ไม่มีเฮดแลนด์จะใช้น้ำมันประมาณ 8 - 2 ลิตรต่อตันอ้อย ในขณะที่แปลงอ้อยที่จัดรูปแบบแปลงโดยเว้นระยะหัวท้ายไว้กลับรถ ใช้น้ำมันเพียง 0.9 ลิตรต่อตันอ้อยเท่านั้น
  3. ลดการเหยียบย่ำในพื้นที่หัวท้ายแปลงอ้อยในขณะกลับรถ ทำให้ลผลิตอ้อยเสียหาย
  4. รักษาดิน ในพื้นที่แปลงปลูกที่ไม่มีเฮดแลนด์ ดินบริเวณหัวแปลงจะถูกอัดแน่นจนเกินไป ส่งผลกระทบต่อผลผลิตอ้อย คือ เมื่อดินแน่น รากอ้อยจะไม่สามารถชอนไชหาอาหารในดินได้ การเจริญเติบโตไม่ดี น้ำซึมลงดินยาก ทำให้อ้อยเตี้ย ผลผลิตต่ำ และจะเป็นต่อเนื่องทุกปี
  5. เครื่องจักรทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีเวลาจัดการไร่ได้ทันเวลา ภาพรวมของผลผลิตดีขึ้น ตามประสิทธิภาพของการทำงานในทุกด้าน

เปรียบเทียบข้อแตกต่างในแปลงปลูกอ้อยที่เว้นระยะหัวแปลง ท้ายแปลง กับไร่ทั่วไป พบว่า ขั้นตอนการไถพรวน เครื่องจักรทำงานได้วันละ 30-50 ไร่ แต่แปลงอ้อยที่มีการทำเฮดแลนด์เครื่องจักรสามารถทำงานได้วันละ 60-70 ไร่  คิดเป็นเกือบ 80% ของตัวงานที่ทำได้ และช่วยประหยัดค่าน้ำมันไม่ต่ำกว่า 30%

ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าการทำเฮดแลนด์ ต้องเสียพื้นที่ไปกว่า 3-5 % ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งเป็นพื้นที่ไม่น้อย หลายคนยังเสียดายพื้นที่ที่จะต้องเสียไป มองว่าไร้ประโยชน์ น่าเสียดาย ปลูกอ้อยได้อีกตั้งหลายกอ แต่ในทางกลับกันประโยชน์ที่ได้รับหากสร้างเฮดแลนด์ได้ถูกต้องเหมาะสมกับพื้นที่ จะช่วยให้การทำงานของเครื่องจักรมีประสิทธิภาพ ทำให้ผลผลิตอ้อยดีขึ้น และคุ้มค่า ประหยัดเวลาการทำไร่อ้อยของมิตรชาวไร่ ทำให้มีเวลาเหลือไปบริหารจัดการงานอ้อยด้านอื่นได้มากขึ้น

วารสาร มิตรชาวไร่

https://www.nfc-skn.org/ai-modernfarming/

 

ข่าวปักหมุด