หน้าแรก

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ชาวไร่อ้อยเป็นเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและมีการพัฒนาต่อยอดการบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาปรับใช้งานไร่อ้อยมากขึ้น รวมถึงองค์ความรู้ด้านอ้อยต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาไม่หยุดนิ่งของสังคมชาวไร่อ้อย ตั้งแต่การเลือกพันธุ์อ้อย การเตรียมดิน การปลูก ตลอดจนกระบวนการเก็บเกี่ยวหีบอ้อยส่งโรงงาน

แม้เกษตรกรจะเป็นอาชีพที่หลังสู้ฟ้าหน้าสู่ดิน แต่เกษตรกรทุกคนพิถีพิถันทุกขั้นตอนในการสร้างผลผลิตทางการเกษตร ในส่วนของชาวไร่อ้อยก็เช่นเดียวกัน การปลูกอ้อยที่ได้คุณภาพ ได้ผลผลิตตามเป้าคือจุดมุ่งหมายสำคัญของชาวไร่ทุกคน

หลักในการเลือกพันธุ์อ้อย-003.png

ดังนั้นกระบวนการเลือกพันธุ์อ้อยจึงเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญและเป็นหลักการที่ควรยึดถือในลำดับต้น ๆ ของการปลูกอ้อย ซึ่งหลักการเลือกพันธุ์อ้อยโดยทั่วไปควรยึดหลักดังนี้

  • ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพความหวานมากกว่า 10 ซีซีเอส
  • ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง แส้ดำ กอตะไคร้ ทนทานต่อหนอนกอลายจุดใหญ่ หรือหนอนกอลายจุดเล็ก หรือศัตรูที่สำคัญในแต่ละแหล่งปลูก
  • เจริญเติบโตดีเหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศ
  • ไว้ตอได้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และผลผลิตไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของอ้อยปลูก

หลักในการเลือกพันธุ์อ้อย-004.jpg

ทั้งนี้ในการปรับปรุงพันธุ์อ้อยมีหน่วยงานที่ดำเนินการหลายหน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงมิตรผล โดยเริ่มตั้งแต่การผสมพันธุ์ คัดเลือกพันธุ์และทดสอบพันธุ์ โดยการคัดเลือกในสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกอ้อยของประเทศไทย พันธุ์อ้อยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์จะมีลักษณะ ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และลักษณะทางการเกษตรที่ดีเด่น แตกต่างกันขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่ทดสอบ และคัดเลือกพันธุ์ ชาวไร่จึงจำเป็นต้องเลือกพันธุ์โดยอาศัยคำแนะนำจากเอกสารแนะนำพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน

ขอบคุณข้อมูล-ภาพ

https://sites.google.com/site/reuxngxxy/-xxy/kar-leuxk-phanthu

ข่าวปักหมุด