หน้าแรก

ฝน ถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างทางด้านการเกษตรของเราชาวเกษตรกร ทั้งผู้ที่อยู่ในเขตและนอกเขตชลประทาน โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานนั้น ฝนเป็นเหมือนน้ำจากฟ้าที่ตกเข้ามาให้ความชุ่มฉ่ำแก่ผืนดิน ในแต่ละปีก็จะมีการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนไว้ เพื่อให้ผู้ใช้น้ำทุกฝ่ายได้มีการเตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะมี

ในฐานะเกษตรกรยุคใหม่ต้องมีการติดตามสถานการณ์ของดินฟ้าอากาศ เพื่อจะได้มีการเตรียมความพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์ โดยในปีนี้จะเห็นได้ว่าฝนตกเร็ว ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ช่วยให้ความชุ่มฉ่ำจากช่วงที่แล้งและร้อนอย่างหนัก แต่ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมก็มีภาวะฝนทิ้งช่วงโดยเฉพาะในช่วงภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลางของประเทศ

สถานการณ์ฝนในประเทศ-003.jpg

ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา จะมีความสอดคล้องกับปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ของประเทศ และปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำก็มีความสัมพันธ์กับการทำการเกษตรในเขตชลประทานนั่นเอง โดยปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2563 มีน้ำกักเก็บที่ร้อยละ 42 ของความจุของอ่าง ในขณะที่ปริมาณน้ำที่สามารถนำไปใช้ได้อยู่ที่ร้อยละ 15 ของปริมาณน้ำที่มีเท่านั้น และหากเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำในอ่างกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (22 กรกฎาคม 2562) มีปริมาณน้ำน้อยกว่าถึงร้อยละ 5

สถานการณ์ฝนในประเทศ-004.jpg

จาการคาดการของกรมอุตุนิยมวิทยาถึงสถานการณ์ฝนในประเทศไทยในอีก 2 เดือนข้างหน้า พยากรณ์ว่า ช่วงเดือนสิงหาคม ตามปกติเดือนนี้จะมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีปริมาณฝนมากกว่าเดือนที่ผ่านมาจากอิทธิพลของ ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และมรสุมตะวันตก เฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงเป็นระยะ ๆ นอกจากนี้อาจมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาใกล้หรือเข้าสู่ ประเทศไทยบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากว่าบริเวณอื่น ๆ และในเดือนกันยายน ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และพื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปีจากอิทธิพลของ ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทย นอกจากนี้อาจได้รับอิทธิพลจากพายุเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาสลายตัวใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง โดยเฉพาะบริเวณ ทางด้านตะวันออกของประเทศ และคาดว่าฤดูฝนจะหมดลงในช่วงกลางเดือนตุลาคม

จากสถานการณ์ฝนของประเทศไทยในช่วงนี้ก็ส่งผลต่อการเตรียมการสำหรับการทำการเกษตรของมิตรชาวไร่เช่นกัน เพราะปริมาณน้ำฝนนี้ เป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตอ้อย เพราะน้ำจะไปละลายธาตุอาหารต่าง ๆ ซึ่ง พืชจะสามารถนำไปใช้ได้ หากอ้อยได้รับน้ำอย่างเพียงพอตลอดช่วงอายุการเจริญเติบโต อ้อยเจริญเติบโตได้ดี ผลผลิตสูง และปริมาณน้ำตาลสูง ในขณะเดียวกันหากปริมาณน้ำน้อยจะทำให้อ้อยเจริญเติบโตช้า ผลผลิตต่ำ และให้ความหวานต่ำ ดังนั้น มิตรชาวไร่ควรต้องมีการติดตามการคาดการ และสถานการณ์น้ำฝน เพื่อที่เราจะได้มีความพร้อมสำหรับการทำไร่ การให้ปุ๋ย และการกำจัดศัตรูพืชที่มาตามฤดูกาลและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพนั่นเอง

สถานการณ์ฝนในประเทศ-005.jpg

ขอบคุณที่มาบทความ และ ภาพ

http://water.rid.go.th/

https://www.tmd.go.th/

https://www.matichon.co.th

https://siamrath.co.th/

https://www.posttoday.com/

ข่าวปักหมุด