หน้าแรก

สารกำจัดวัชพืช หรือสารเคมีใด ๆ ก็ตาม คือสารทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ที่เกษตรกรทั่วโลกนิยมใช้ รวมถึงประเทศไทยด้วย เพื่อกำจัดวัชพืชที่ขึ้นตามพื้นที่รกร้าง หรือขึ้นรบกวนพืชหลักที่เกษตรกรปลูกในพื้นที่ทำกิน ซึ่งมีทั้งออกฤทธิ์ชนิดเลือกทำลายและไม่เลือกทำลาย

อย่างไรก็ตามสารกำจัดวัชพืชยอดนิยมในเมืองไทยหลายประเภทถูกจัดให้เป็นวัตถุอันตรายที่อยู่ในการควบคุมของกฎหมาย เนื่องจากสารเหล่านี้มีฤทธิ์ในวงกว้างทั้งต่อคน พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพของคนหรือเกษตรกรผู้ใช้สารประเภทดังกล่าว มักจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้

  1. พิษที่เกิดแบบเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชในแบบทันทีทันใด เช่น ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ท้องร่วง เป็นตะคริว หายใจติดขัดมอง ไม่ชัด และอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
  2. ผลกระทบที่รุนแรงเฉพาะส่วน คือ ผลกระทบที่มีผลเพียงบางส่วนต่อร่างกายซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับสารโดยตรง เช่น ระคายเคืองต่อผิวหนัง เกิดอาการแพ้ ผิวหนังแห้งไหม้ เกิดรอยแดง ระคายเคืองต่อระบบหายใจ มีอาการจามหรือไอ น้ำตาไหล เล็บมือเล็บเท้าเปลี่ยนสีกลายเป็นสีฟ้าหรือสีดำ ในรายที่เป็นมากเล็บจะหลุดร่อน
  3. พิษที่เกิดแบบเรื้อรัง เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษของสารกำจัดวัชพืชเข้าไปแล้ว แต่แสดงผลช้า โดยแสดงอาการในภายหลังได้รับพิษ อาจกินเวลาเป็นเดือนหรือปี จึงแสดงอาการออกมา เช่น เป็นหมัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง พาร์กินสัน เป็นต้น

สารกำจัดวัชพืช-003.jpg

แน่นอนว่านอกเหนือจากวิธีการใช้งานที่ถูกวิธีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เกษตรกรพึงรู้คือ การปฐมพยาบาลผู้ได้รับพิษจากสารกำจัดวัชพืชเบื้องต้น อาทิ การทำความสะอาดร่างกายส่วนที่ถูกสารด้วยสบู่หรือน้ำสะอาด หากได้รับพิษทางตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาด ได้รับพิษทางปากควรทำให้อาเจียนออกมา ก่อนจะพาคนเจ็บส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยด่วน เป็นต้น เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายถึงชีวิต

ขอบคุณที่มาข้อมูล-ภาพ

http://www.cpiagrotech.com

https://www.thairath.co.th

https://mgronline.com/

 

ข่าวปักหมุด