หน้าแรก

หากกล่าวถึงคุณภาพของดิน เชื่อว่าความอุดมสมบูรณ์ของแต่ละพื้นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิประเทศและอากาศ หลายคนอาจมองว่าดินของเราอุดมสมบูรณ์ แต่อย่าลืมว่าหากเราปลูกอ้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานานโดยไม่ปรับปรุงบำรุงดินเลย จะทำให้ธาตุอาหารในดินลดลง ขาดความอุดมสมบูรณ์ จนทำให้ดินเสื่อมโทรม ผลผลิตที่ได้ก็ลดลงตามไปด้วย

การเผาทำลายเศษซากวัสดุอินทรีย์ รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่ารุนแรง ล้วนเป็นสาเหตุของปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุแทบทั้งสิ้น

ซึ่งบทบาทของอินทรียวัตถุต่อดินมีหลายประการ อาทิ ปรับปรุงโครงสร้างดิน การระบายน้ำ-อากาศ, ส่งเสริมการเกิดเม็ดดิน, เพิ่มความเสถียรของเม็ดดิน ลดการกร่อนของดิน, เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน รวมถึงเพิ่มช่วงความชื้นที่เป็นประโยชน์ในดิน เป็นต้น

003.jpg

ดังนั้นหากมิตรชาวไร่ต้องการให้ดินในไร่เป็นดินดี เหมาะสมต่อการปลูกอ้อย มีปริมาณน้ำและธาตุอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต เมื่อพบว่าดินเกิดปัญหาขาดอินทรียวัตถุ เราต้องฟื้นฟูสภาพดินให้กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้

  1. ลดการไถพรวนให้น้อยที่สุด เพราะการไถพรวนที่มากเกินไป จะทำให้อินทรียวัตถุในดินลดลงและดินสูญเสียความชื้น
  2. ลดการปล่อยพื้นที่ว่าง โดยใช้เศษวัสดุทางการเกษตรปกคลุมดิน เช่น ตัดอ้อยสดไว้ใบอ้อยคลุมดิน เป็นต้น
  3. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อพักดิน เพิ่มสารอินทรีย์ให้ดิน หรือการจัดการเกี่ยวกับไนโตรเจน โดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว ในช่วงพักดินจากการปลูกอ้อยเป็นต้น
  4. หาสารอินทรีย์จากแหล่งอื่นมาใส่เพิ่มเติมในดิน เช่น ใส่ปุ๋ยคอก กากชานอ้อย วีแนส หรือฟีลเตอร์เค้ก เพื่อเพิ่มธาตุอาหารช่วยบำรุงดิน เป็นต้น

004.jpg

ดังนั้น ดินจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการดินในไร่ของเราเอง นอกจากการบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของอ้อยแล้ว เหนือสิ่งอื่นใดคือเราต้องรู้จักดินในพื้นที่ของตนเองว่ามีคุณลักษณะอย่างไร มีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน เพื่อให้การดูแลฟื้นฟูสภาพดินเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะเมื่อเราดูแลถูกจุด ดินของเราก็สามารถสร้างผลผลิตอ้อยที่ปลูกได้อย่างคุ้มค่าอีกด้วย

ที่มา : www.mitrpholmodernfarm.com

 

ข่าวปักหมุด