หน้าแรก

ปลูกต้นไม้ให้งอกงาม

สู่เงินออมที่งอกเงย

งอกเงยเงินเก็บ

งอกเงยมูลค่าที่ดิน

งอกเงยสิ่งแวดล้อมที่ดี

หยาดน้ำจากฟ้ามาตามเวลาที่นัดหมาย ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย อากาศครึ้ม ๆ เมฆปกคลุมท้องฟ้า ฝนสาดเทลงมาสู่ไร่อ้อย ผืนแผ่นดินต้นกำเนิดของสารให้ความหวานที่ทุกคนคุ้นเคย แต่มิตรชาวไร่สังเกตกันไหมคะว่า สภาพอากาศปัจจุบันเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากอดีตไปมาก หน้าหนาวมีฝน หน้าฝนบางปีแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ปัญหาที่กล่าวมานี้ ไม่ได้เพิ่งจะเริ่มเกิดขึ้น แต่นี่คือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมระดับสากลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภููมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญและเร่งแก้ไขฟื้นฟูู เพราะปัญหานี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเท่านั้้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชากรโลก รวมถึงระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มิตรชาวไร่อาจจะเคยได้ยินข่าวน้ำท่วมใหญ่ ในเมืองเจิ้งโจว เมืองหลักของมณฑลเหอหนานในประเทศจีน จากปริมาณน้ำฝนที่ตกหนักติดต่อกัน 3 วัน จนจีนเองยังเปรียบเทียบว่าเป็น ‘ฝนพันปี’ ทำให้เราเห็นภาพน้ำฝนไหลทะลัก เข้าไปในระบบรถไฟใต้ดินและท่วมในเมืองเกือบทั้งหมด เหตุุการณ์นี้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 300 คน และเศรษฐกิจเสียหายคิดเป็นมููลค่ากว่า 6.2 พันล้านบาท

นอกจากนี้ประเทศในแถบยุุโรปซึ่งเราไม่ค่อยจะได้ยินข่าวอุุทกภัยก็เกิดเหตุุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ในเยอรมนีและเบลเยียม มีผู้เสียชีวิตนับร้อยราย นับว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุุดของเยอรมนีในรอบครึ่งศตวรรษ หลายเหตุุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันนี้ ส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่าสภาพอากาศของโลกใบนี้กำลังเปราะบางมากจริง ๆ

สำหรับประเทศไทย แม้จะมีเหตุุอุุทกภัยและสภาพอากาศแปรปรวนอยู่เป็นระยะ แต่เราก็ได้น้อมนำศาสตร์พระราชา ด้านการอนุุรักษ์และฟื้นฟููทรัพยากรดิน น้ำป่า ด้วยการปลููกไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภููมิพลอดุุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเพื่ออนุุรักษ์และฟื้นฟููทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภููมิอากาศ พร้อมกับการพัฒนาอาชีพ และคุุณภาพชีวิตของชุุมชนให้ได้มีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

กลุ่มมิตรผล ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ในแวดวงเกษตรอุุตสาหกรรม ตระหนักและเข้าใจถึงสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี จึงมุ่งมั่นขับเคลื่อนการดำเนินธุุรกิจควบคู่กับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยจะเห็นได้จากการกำหนด ให้เรื่องกำกับดููแลสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มมิตรผล ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ  (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมถึงยังได้น้อมนำแนวทางศาสตร์พระราชามาประยุุกต์ใช้ในหลายโครงการ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและชุุมชนมีคุุณภาพชีวิตที่ดีในสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

‘โครงการธนาคารต้นไม้’ คืออะไร ?

‘ธนาคารต้นไม้’ คำนี้อาจจะฟังดููไม่ค่อยคุ้นหูมากนักสำหรับคนเมือง แต่เชื่อว่าสำหรับมิตรชาวไร่และชุุมชนของกลุ่มมิตรผลนั้น น่าจะคุ้นเคยกันอยู่บ้างแล้ว โดยโครงการธนาคารต้นไม้ของกลุ่มมิตรผล เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อยและชุุมชน พึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวและอยู่ได้อย่างยั่งยืนทั้้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม ควบคู่กับการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภููมิอากาศ อนุุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มุ่งเน้นปลููกไม้เศรษฐกิจให้เติบโต เพื่อเพิ่มการออมต้นไม้ ออมออกซิเจน ออมรายได้อีกทั้งยังสามารถสร้างมููลค่า เพิ่มของทรัพย์สินบนดินจากมููลค่าของต้นไม้ และนำมาเป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันทางธุุรกิจ เพื่อสนับสนุุนให้ชาวไร่อ้อยมีอนาคตที่มั่นคง

โดยธนาคารต้นไม้เป็นโครงการที่ขยายผลต่อยอดมาจาก “โครงการทำตามพ่อ ปลูก เพ(ร)าะ สุุข” ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งจากการปลููกอ้อยมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ไม่ปลููกพืชเชิงเดี่ยว แต่ปลููกพืชผักสวนครัว ผลไม้ตามฤดููกาล ปลููกไม้ใช้สอย เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ควบคู่กัน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและมีรายได้เสริมเป็นรายวัน รายเดือน รายปี ช่วยให้ชาวไร่อ้อยและชุุมชนพึ่่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

แนวคิดการปลููกไม้ 3 อย่าง คือ ปลููกไม้เศรษฐกิจ ไม้กินได้ (ผลไม้ พืชผักสวนครัว) และไม้ใช้สอย แต่มีประโยชน์ถึง 4 อย่าง เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการอนุุรักษ์ดิน น้ำและการฟื้นฟููทรัพยากร ควบคู่กับการปลููกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในชุุมชน ตอบโจทย์การฟื้นฟููธรรมชาติและยังเป็นการสร้างรายได้ในระยะยาว พออยู่ พอกิน พอใช้ ในครัวเรือน

พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลููกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย

พอกิน หมายถึง ปลููกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุุนไพร

พอใช้ หมายถึง ปลููกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน ไม้ไผ่ เป็นต้น

นอกจากนี้การปลูกต้นไม้ยังสร้างประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ช่วยฟื้นฟููทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความสมบููรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า ซึ่งในปัจจุุบัน ไม้เศรษฐกิจ 58 ชนิดสามารถนำมาเป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันทางธุุรกิจ เพื่อสนับสนุุนเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับความสะดวก และมีโอกาสในการประกอบธุุรกิจมากขึ้้น

 

 

 

ข่าวปักหมุด