หน้าแรก

สวัสดีค่ะพี่น้องชาวไร่ ข่าวสารมิตรชาวไร่วันนี้ มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มขออนุญาตนำบทวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดอ้อย น้ำตาลทรายและเอทานอลที่เป็นตลาดที่ส่งผลโดยตรงต่อราคาอ้อยในอนาคตมาฝากพี่น้องชาวไร่ แม้ว่าข่าวคราวความเคลื่อนไหวของการวิเคราะห์สถานการณ์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แต่การติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องใกล้ชิด จะทำให้ชาวไร่สามารถคาดการณ์ราคาผลผลิตได้บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ

IMG_6290.JPG

แน่นอนว่าราคาน้ำตาลขณะนี้อยู่ภายใต้แรงกดดันจากการคาดการณ์ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้พื้นที่ปลูกอ้อยในบราซิลมีฝนตกชุก ในช่วงปลายสิงหาคม ก่อนที่จะปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากราคาน้ำมันดิบที่ลดลง ซึ่งส่งผลให้ราคาเอทานอลลดลง และอาจกระตุ้นให้โรงงานน้ำตาลในบราซิลหันไปผลิตน้ำตาลมากกว่าผลิตเอทานอล และอาจทำให้ราคาน้ำตาลปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจาก ISO ได้เพิ่มประมาณการ การดุลขาดน้ำตาลทั่วโลกในปี 2564/2565 มาอยู่ที่ 3.83 ล้านตัน จากเดิมที่ประมาณการไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ 2.65 ล้านตัน หลังจากการเกิด น้ำค้างแข็งเมื่อเดือนกรกฎาคมแล้ว ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิตอ้อยของบราซิล

นอกจากนี้ราคาน้ำตาลตลาดนิวยอร์คได้มีการปรับขึ้น เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น ผู้สังเกตการณ์ตลาดรายงาน และมีพื้นที่ประมาณ 27% ที่ ได้รับผลกระทบจากน้ำค้างแข็งและกำลังอยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยว โดยทาง Rabobank ได้กล่าวว่าผลกระทบจาก น้ำค้างแข็งได้ส่งผลต่อราคาน้ำตาล ในทางกลับกันทาง Barchart ได้กล่าวว่าราคาน้ำมันและเอทานอลที่เพิ่มขึ้นยังสามารถที่จะทำให้สัดส่วนนำอ้อยไปผลิตน้ำตาลลดลงได้ แต่นักวิเคราะห์จาก Safras & Mercado ไม่เห็น ด้วยเนื่องจากความต้องการเอทานอลที่ลดลงจากราคาที่สูงเกินไป

ซึ่ง UNICA ซึ่งเป็นองค์กรวิเคราะห์การตลาด กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำตาล และเอทานอลในฤดูกาลนี้จะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ด้าน JOB Economia คาดว่าค่าอ้อยจะเพิ่มขึ้น 60-70% ขณะที่ข้อมูล Cepea/Esalq แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำตาลคริสตัลสูงกว่าปีที่แล้วถึง 63% ในขณะที่ราคาไฮดรัสสูงกว่าปีที่แล้วถึง 75% ซึ่งทั้ง UNICA และ JOB Economia กล่าวว่าต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้ใกล้เคียงกับการเพิ่มขึ้นของรายได้

IMG_6291.JPG

สาเหตุที่ทำไมเราต้องติดตามสถานการณ์การผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายของต่างประเทศ โดยเฉพาะบราซิลและอินเดีย เนื่องจาก 2 ประเทศนี้เป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก แม้ประเทศไทยเองก็คือหนึ่งในผู้นำด้านการส่งออกน้ำตาล แต่สถานการณ์ของต่างประเทศยังเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อกระแสและทิศทางของราคาอ้อย น้ำตาล และเอทานอลอย่างแยกไม่ออก เพราะฉะนั้นจากการวิเคราะห์ข้างต้น นับว่าเป็นข่าวดีหากราคาน้ำตาลและเอทานอลยังสูงขึ้น เพราะจะส่งผลต่อราคาอ้อยที่ชาวไร่จะเก็บเกี่ยวในฤดูกาลต่อไปนั่นเอง

ที่มา

http://www.ocsb.go.th/

https://marketeeronline.co/

https://www.scidev.net/



ข่าวปักหมุด