หน้าแรก

วันนี้เรามีเรื่องราวของมิตรชาวไร่หญิงแกร่งจากเมืองเกินร้อย แม่ไสวรรณ์ จรบุรมณ์ ผู้ที่อดีตยึดอาชีพเลี้ยงวัวตลอดทั้งปี มีรายได้เพียงปีละ 1 หมื่นบาท มาสู่ปัจจุบัน คือ เกษตรกรผู้ทำไร่อ้อยได้ปีละหลายล้าน ด้วยยึดหลัก “ถ้าทำแล้วไม่ได้ ไม่ต้องทำให้เสียเวลา แต่ถ้าทำอะไรแล้วมันได้ ให้ทำมาก ๆ ทำเยอะ ๆ ”

ไสวรรณ์-จรบุรมณ์-003.jpg

แม่ไสวรรณ์ เกษตรกรวัย 59 ปี แห่งบ้านกกตาล ตำบลหนองขุ่นใหญ่ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด ตัดสินใจปลูกอ้อยบนที่ดินที่ใช้เลี้ยงวัวประมาณ 9 ไร่ ในปี 2538 เพียง 2 ปี ก่อนที่โรงงานมิตรกาฬสินธุ์จะก่อตั้งโดยเริ่มจากเข็นอ้อยรับจ้างที่จังหวัดมุกดาหาร ด้วยรถ 6 ล้อ จากนั้นเห็นว่ารายได้จากอ้อยดี เลยตัดสินใจปลูกอ้อย เริ่มจาก 9 ไร่ จนขยับขยายถึง 600 ไร่ ในปัจจุบัน

แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ หญิงเก่งคนนี้ล้มลุกคลุกคลานมาพอสมควร เนื่องจากไม่มีความรู้เรื่องอ้อย ทุกอย่างเรียนรู้ด้วยตัวเอง บางปีไถไม่ดี พันธุ์อ้อยไม่ดี หรือบางครั้งการใส่ปุ๋ย บำรุงรักษาไม่ดี พบปัญหามาเรื่อย ๆ จนกระทั่งโรงงานมิตรกาฬสินธุ์มาตั้ง มีเจ้าหน้าที่เข้ามาส่งเสริมแนะนำ ให้ความรู้เรื่องการทำไร่อ้อย ก็ช่วยแม่ไสวรรณ์แก้ปัญหาได้เยอะ

ไสวรรณ์-จรบุรมณ์-004.jpg

นอกจากใจที่สู้ไม่ถอยของแม่ไสวรรณ์แล้ว ครอบครัวยังเป็นตัวช่วยสำคัญในการทำไร่อ้อยอีกด้วย สามีและลูก ช่วยบริหารจัดการงานในไร่อ้อยอย่างดี งานบางส่วนที่ต้องจ้างคนงานก็บริหารคนงาน บางส่วนที่ใช้เครื่องจักร เครื่องมือก็จัดการอย่างมีระบบ

ในส่วนของมิตรผล นอกจากคอยอำนวยความสะดวกเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือที่ต้องใช้งานในไร่ ยังคอยแนะนำเรื่องการทำไร่อ้อยแบบมิตรผลโมเดิร์นฟาร์มให้แม่ไสวรรณ์นำมาปรับใช้ ได้แก่ การเว้นระยะปลูกอ้อย ไม่เผาใบอ้อย ทิ้งใบคลุมดิน รวมถึงการพักดินปลูกถั่ว ที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นรายได้อีกทาง

จากการตัดสินใจผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรชาวไร่อ้อยเมื่อ 20 ปีที่แล้วนั้น ทำให้แม่ไสวรรณ์มีโอกาสได้เรียนรู้ ลองผิด ลองถูก ทำไร่อ้อยมาจนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ส่งต่อรุ่นลูกต่อไปได้ จากอดีตที่แม้แต่เงินซื้อกับข้าวยังหายาก มาสู่ปัจจุบัน มีรายได้จากการทำไร่อ้อยปีละ 6-7 ล้านบาท มนุษย์หญิงเก่งคนนี้บอกว่า ไม่มีพืชชนิดไหนจะทำได้เท่ากับอ้อยอีกแล้ว เราอยากได้เยอะ เราก็ทำเยอะ ทุกอย่างปูพื้นฐานไว้ให้ลูกหลานมาสานต่อได้ทันที

และแน่นอนว่าคีย์เวิร์ดสำคัญในความสำเร็จของแม่ไสวรรณ์ตลอด 20 กว่าปีที่ทำไร่อ้อยที่ผ่านมาคือ “อะไรที่ทำแล้วไม่ได้ อย่าทำ” ที่เหลือคือใจในการต่อสู้กับการทำไร่ สู้ด้วยความสุข สู้เพราะมีความหวัง ว่าสิ่งที่ทำอยู่จะช่วยให้ชีวิตของทุกคนในครอบครัวดีขึ้น.

ไสวรรณ์-จรบุรมณ์-005.jpg

ข่าวปักหมุด