หน้าแรก

อินเดียเป็นประเทศที่ต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลก กว่า 21 เมืองในอินเดียติดอันดับ 30 เมืองของโลกที่อากาศเป็นพิษ และคร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี

http___cdn.cnn.com_cnnnext_dam_assets_200225071833-india-air

ยิ่งกว่า 40% ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยไปยังชั้นบรรยากาศล้วนมาจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง มากไปกว่านั้น เอเชียใต้ก็ผลิตอิฐที่ใช้สำหรับการก่อสร้างใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก อากาศในแถบนั้นจึงเป็นอากาศที่ไม่บริสุทธิ์นัก

Process combine 1.jpg

Tejas Sidnal สถาปนิกชาวอินเดียที่เห็นว่าอุตสาหกรรมการก่อสร้างมีส่วนในการสร้างก๊าซมลพิษไปในชั้นบรรยากาศ จึงเริ่มคิดค้นนวัตกรรมที่จะแก้ไขปัญหานี้เพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการสร้าง "Carbon Craft Design พื้นกระเบื้องจากคาร์บอน" ทำจากคาร์บอนดำที่ถูกปล่อยไปในชั้นบรรยากาศ

กระเบื้องนี้เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในการดึงคาร์บอนสีดำที่สร้างมลพิษในอากาศมาทำกระเบื้องแทน กระเบื้อง 1 แผ่นจึงจะเท่ากับการทำความสะอาดอากาศไม่ให้มีมลพิษ 30,000 ลิตร

ซึ่งคาร์บอนสีดำที่พวกเขาดักจับมานั้นจะอยู่ในฝุ่นอันตรายอย่าง PM2.5 ที่เชื่อมโยงกับโรคปอดและโรคหัวใจ ประเทศอินเดียต้องเผชิญกับ PM2.5 อย่างหนัก ในปี 2019 นิวเดลีได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขหลังจากประสบปัญหาหมอกควันในระดับสูงเป็นประวัติการณ์

มากกว่านั้น มันต่างจากคาร์บอนทั่วไปตรงที่มันเป็นสารที่สามารถดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึงหนึ่งล้านเท่า ในช่วงหลายวันหรือหลายสัปดาห์ที่มันอยู่ในชั้นบรรยากาศ

Sidnal จึงหันมาใช้คาร์บอนดำ เขาเล่าว่าการลดมลพิษเช่นคาร์บอนดำสามารถช่วยชะลอภาวะโลกร้อน และปรับปรุงคุณภาพอากาศได้ ที่ผ่านมา หลายบริษัทกำลังสำรวจหาวิธีในการดักจับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มีเพียงไม่กี่แห่งที่มุ่งเน้นไปดักจับคาร์บอนสีดำ

และจากความดำของมัน Sidnal เล่าว่าพวกเขาสามารถนำมันมาใช้เป็นเม็ดสีในกระเบื้องคาร์บอน

Process 8.jpg

เขาให้ Graviky Labs ใช้อุปกรณ์กรองเพื่อดักจับเขม่าคาร์บอนดำจากการเผาไหม้ของดีเซลและเชื้อเพลิงฟอสซิล พร้อมขจัดสิ่งที่ปนเปื้อน เช่นโลหะหนักและฝุ่นออกจากเขม่า จนสุดท้ายได้คาร์บอนที่บริสุทธิ์ออกมาในรูปแบบผงเพื่อให้ Carbon Craft Design นำไปผลิตกระเบื้องต่อ

หลังจากนั้น ทาง Carbon Craft Design จะนำผงที่ได้มาผสมกับปูนซีเมนต์ และเศษหินอ่อนจากเหมืองหินที่ไม่ใช้แล้วมาผลิตกระเบื้องสีเดียว

Process combine 2.jpg

โดย Sidnal กล่าวว่า บริษัทมีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่ากระเบื้องแต่ละแผ่นมีวัสดุเหลือใช้อย่างน้อย 70% และจะนำกระเบื้องไปขายให้กับสถาปนิกและผู้ค้าปลีกในราคา 29 เหรียญ (ประมาณ 867 บาท) ต่อตารางเมตร

ราคาที่วางไว้จะสูงเมื่อเทียบกับกระเบื้องเซรามิกทั่วไป แต่ทางบริษัทหวังว่าเมื่อพวกเขาเพิ่มการผลิตเพื่อที่ในอนาคตจะลดราคากระเบื้องให้ถูกลงได้ เพราะ Sidnal ชี้ว่า “เราต้องการตีตลาดอื่นด้วย ความยั่งยืนไม่ควรเป็นแค่ของสังคมขั้นสูง”

ตั้งแต่เปิดตัวมา มีหลายบริษัทสถาปัตย์ได้นำ Carbon Craft Design ไปใช้ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 บริษัทได้ปิดผนังและพื้นด้วยกระเบื้องคาร์บอนในร้าน Adidas สาขามุมไบ โดยในอนาคตพวกเขาหวังว่าจะสามารถนำกระเบื้องของเขาไปขายทั่วโลกได้ เริ่มจากลงทุนที่ยุโรปก่อนในปีนี้

ที่มา : https://www.facebook.com/environman.th/photos/3333791096749314

https://edition.cnn.com/style/article/carbon-tiles-air-pollution-india-hnk-spc-intl/index.html?fbclid=IwAR0dzYHS4l9UwHMWIPMBIxjiYb9Oe3mYeseylkpw9C3x-79hgr52Tia70Ms

https://www.youtube.com/watch?v=A1yCK6GS3Ew&ab_channel=GreatBigStory

https://www.youtube.com/watch?v=MqOplj2HSdE&ab_channel=WION

 

ข่าวปักหมุด