หน้าแรก

สวัสดีค่ะมิตรชาวไร่ทุกท่าน ก้าวเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวอย่างนี้ หลายพื้นที่ในประเทศไทยยังมีฝนตกต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่แหล่งอ้อย ที่มีฝน "ตกหนัก" ถึง "หนักมาก" เป็นโอกาสสำคัญของพื้นที่ดอน พื้นที่ฝนตกน้อย ที่จะได้รับน้ำฝนค่อนข้างทั่วถึง

พื้นที่อีสานตอนกลางและตอนล่าง รวมถึงภาคกลาง อาจมีน้ำฝนสะสม มากกว่า 100 มม. หากเป็นแหล่งอ้อยในพื้นที่ลุ่ม พื้นที่นาดอน อาจเกิดปัญหาน้ำท่วมขังได้

 สำหรับพื้นที่มีปัญหาฝนแล้ง ในรอบนี้ คาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลายจากฝน แต่ชาวไร่ต้องเก็บน้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นฝนที่ตกหนักและกระจายตัว และอาจจะเป็นฝนชุดสุดท้ายของปี 2566ก็เป็นได้ค่ะ

สำหรับแปลงอ้อยที่ได้ระเบิดดินดานรับน้ำ จะทำให้น้ำฝนซึมลงชั้นใต้ดินได้ดี ช่วยทำให้อ้อยที่ปลูกไว้เติบโต รักษาน้ำหนักได้ต่อเนื่อง หากชาวไร่ได้ระเบิดดินดานเพื่อเตรียมปลูกอ้อย ปี 2567/68 ในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ก็มีความเสี่ยงผลกระทบภัยแล้งลดลง

อย่างไรก็ดีความต้องการน้ำ ช่วงอ้อยแตกกอและย่างปล้อง ที่คาดหวังผลผลิต 12 ถึง 15 ตันต่อไร่ ต้องมีน้ำสม่ำเสมอ โดยค่าน้ำฝนสะสมช่วง 1,200 ถึง 1,300 มม.ต่อปี แต่ปี 2566/67 หลายพื้นที่ยังวัดน้ำฝนสะสม ต่ำกว่า 400 มม. อาจเป็นไปได้ว่าทำให้เสี่ยงที่ผลผลิตอ้อยจะต่ำกว่า 8 ตันต่อไร่ ได้ในบางพื้นที่ ที่ปริมาณน้ำฝนสะสมต่ำกว่าเกณฑ์

ขอบคุณที่มาข้อมูล-ภาพ

https://www.facebook.com/

https://www.thairath.co.th/

 

ข่าวปักหมุด