หน้าแรก

สวัสดีค่ะพี่น้องมิตรชาวไร่ เริ่มต้นปีไม่ทันไร นอกจากเรื่องของโควิด-19 ที่ยังไม่สร่างซา แต่ก็มีวัคซีนเข้ามาฉีดให้ประชาชนอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังมีเรื่องของราคาอาหารที่แพงขึ้น โดยเฉพาะเนื้อหมู ที่ราคากระโดดขึ้นจนเป็นกระแสดราม่าในสังคม นอกจากประเด็นราคาหมูที่แพงขึ้น ยังมีเรื่องที่สร้างความกังวลให้ผู้บริโภคหมูอีกหนึ่งประเด็นคือข่าวเรื่องโรคอหิวาต์หมูนั่นเองค่ะ

มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มวันนี้จะพามิตรชาวไร่ไปรู้จักกับโรคนี้กัน และไปหาคำตอบว่า กินเนื้อหมูแล้วจะติดโรคหรือไม่

โรคอหิวาต์หมูที่เป็นข่าว คือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ‘ASF’ ​ เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงในหมูที่เกิดจากเชื้อไวรัส​ กลุ่ม​ Asfivirus เป็น​ DNA virus ที่มีความคงทนสูงในสภาพแวดล้อม​ โดยอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน​ และอยู่ในเนื้อหมูแช่แข็งได้หลายปี

โรคอหิวาต์หมู​ ASF เป็นโรคที่ติดในสัตว์ประเภทเดียวคือหมูเท่านั้น​ ทั้งหมูเลี้ยง และ​หมูป่า​ ดังนั้นสบายใจได้ว่าไม่ติดคนแน่นอนค่ะ และคนที่กินเนื้อหมูที่เป็นโรคดังกล่าวก็ไม่มีอันตรายด้วย

group-pigs-sleeping-pig-farm.jpg

ส่วนหมูที่ติดเชื้อโรคนี้ สาเหตุมาจากการกินเศษอาหารที่มีเชื้อ​โรคเข้าไป และการสัมผัสเชื้อที่ปนเปื้อนมากับคน​ สิ่งของ​ รถขนส่ง​ และสัตว์พาหะ ซึ่งสัตว์พาหะที่สามารถนำโรคได้โดยตรง​ ได้แก่​ เห็บอ่อน​ ที่พบในทวีปแอฟริกาและยุโรปเท่านั้น​ นั่นหมายความว่ายังไม่พบเชื้ออหิวาต์ตัวนี้ในประเทศไทย แต่การรู้ทันโรคและข้อมูลข่าวสารนี้ไว้จะทำให้เราเกิดความเข้าใจถูกต้อง

โรคนี้พบการระบาดครั้งแรกที่ทวีปแอฟริกา​เมื่อปี 2464 (ที่มาของชื่อ ASF)​ ปัจจุบันมีการระบาดแพร่ไปยังทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย สำหรับทวีปเอเชีย​ พบการระบาดครั้งแรกที่จีน​เมื่อเดือน​สิงหาคม 2018 ปัจจุบันได้แพร่ออกไปสู่มองโกเลีย​ เวียดนาม​ กัมพูชา​ และล่าสุดที่ประเทศเกาหลีเหนือ รวม​ 5 ประเทศ​ ​

IMG_2807.JPG

หมูที่ติดเชื้อจะมีอาการ​ไข้สูง​ จุดเลือดออก​ อาเจียน​ ถ่ายเป็นเลือด​ และตายเกือบ​ 100% โดยสุกรจะแสดงอาการหลังติดเชื้อประมาณ​ 3-4 วัน ซึ่งปัจจุบัน​ยังไม่มียารักษาและวัคซีนป้องกัน​ ขณะนี้มีนักวิทยาศาสตร์กำลังทดลองเกี่ยวกับยาต้านไวรัส​ และวัคซีน​ป้องกันโรค ASF ในหลายๆ ประเทศ​ เช่น​ สเปน​ จีน​ สหรัฐอเมริกา อังกฤษและเกาหลีใต้​ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลากว่าจะประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้วิธีป้องกันและควบคุมไม่ให้เชื้อเข้าสู่ประเทศไทย คือ ต้องห้ามนำเข้าเนื้อและวัตถุดิบจากประเทศที่เกิดโรค​ การตรวจโรคจากผลิตภัณฑ์ที่สนามบิน​ ทางเรือโดยสาร​ ตามด่านทางการเข้า-ออกระหว่างชายแดน​ ไม่ให้นำเนื้อและผลิตภัณฑ์หมูจากประเทศที่มีการระบาดเข้าประเทศไทย​ เป็นต้น ทั้งนี้ในส่วนของเกษตรกรที่เลี้ยงหมูเอง ไม่ควรนำเศษอาหารเลี้ยงหมู ควนอาบน้ำเปลี่ยนชุดเข้าฟาร์มทุกครั้ง​ และพ่นยาฆ่าเชื้อรถขนส่ง​ และโรงเรือน​ เพื่อป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะ​ เป็นต้น

ที่มาข้อมูล-ภาพ

https://www.matichon.co.th/

https://www.thairath.co.th/

 

ข่าวปักหมุด