หน้าแรก

สวัสดีค่ะพี่น้องมิตรชาวไร่ ใกล้ถึงเวลาที่ต้องตรวจเช็กโรคอ้อยกันแล้วนะคะ วันนี้มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มมีวิธีการควบคุมโรคใบขาวจากมิตรลาวมาแชร์ให้ทุกท่านได้ทราบกัน เพราะในช่วงเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมาบริษัท น้ำตาลมิตรลาว จำกัด ได้ประสบกับปัญหาการระบาดของโรคใบขาวอ้อย เฉลี่ยพบในอ้อยปลูก 15-30% อ้อยตอ 30-100% เรียกได้ว่า “ปลูก ตัด พักดิน” กันตลอด ไม่ต้องถามถึงอ้อยตอ เพราะไม่สามารถไว้ตอได้เลย

น้ำตาลมิตรลาวได้พยายามดำเนินการ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคใบขาวอ้อย ทั้งค้นคว้าและทดสอบเพื่อหาต้นเหตุอยู่หลายวิธี และในที่สุดก็ได้คำตอบว่า แมลงพาหะที่มีมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับที่ไทยกว่า 50 เท่า คือตัวแปรสำคัญ

โรคใบขาวอ้อย เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา (Phytoplasma) การระบาดจะติดไปกับท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคและแมลงพาหะ โดยใบอ้อยจะมีสีเขียวซีด หรือสีขาว เนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อ ทำให้ปริมาณและขนาดของคลอโรฟิลล์ลดลง ส่งผลให้ใบอ้อย เรียว เล็กกว่าปกติ มีลำต้นแคระแกร็น หากอาการรุนแรงอ้อยจะแตกกอคล้ายกอตะไคร้ สีขาวและไม่เกิดลำอ้อย

การระบาดของโรคใบขาวอ้อย เกิดได้ในทุกช่วงอายุของอ้อย ซึ่งอาการจะปรากฎชัดเจนในระยะอ้อยแตกกอ ในอ้อยตอความรุนแรงของโรคจะเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถไว้ตอได้ ผลผลิตลดลง 50-100% จำเป็นต้องรื้อตอและปลูกใหม่ทุกปี นี่คือความน่ากลัวของโรคใบขาว

003.jpg

ดังนั้นเพื่อควบคุมและกำจัดโรคใบขาวอ้อยให้สำเร็จ น้ำตาลมิตรลาวได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้

  1. การจัดการอ้อยและพันธุ์อ้อยที่เป็นโรค

    อ้อยปลููกและอ้อยตอ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเดียวกัน คือสำรวจเปอร์เซ็นต์การระบาดของโรคใบขาวอ้อยทุกแปลง หากเจอให้ดำเนินการขุดกออ้อยออกและทำลายทันที โดยมีเงื่อนไขให้ทั้งชาวไร่และผู้รับเหมาต้องทำตามก่อนจ่ายเงินเกี๊ยว และเงินรับเหมา เช่น ผู้รับเหมาจะต้องดำเนินการสำรวจ-ขุุดใบขาว –ตรวจรับงาน-จ่ายเงิน และชาวไร่อ้อยที่จะรับเงินเกี๊ยวค่าใส่ปุ๋ย /ค่างานบำรุงรักษาอ้อยก็เช่นเดียวกัน จะต้องดำเนินการ สำรวจ-ขุุดใบขาว-ตรวจ-อนุุมัติจ่ายเกี๊ยว เป็นต้น

    ส่วนพันธุ์อ้อย ให้สำรวจและคัดแปลงพันธุ์ก่อนจะเก็บตัวอย่างส่งตรวจด้วยเทคนิค PCR (หาปริมาณเชื้อไฟโตพลาสมาในระดับชีวโมเลกุุล) เพื่อให้ใด้พันธุ์อ้อยที่ปลอดโรค และเมื่อตัดพันธุ์อ้อย คนงานจะเว้นกอที่เป็นใบขาวไว้ ห้ามตัดมาปนกับลำอ้อยปกติ ซึ่ง 1 แปลงพันธุ์จะเจอประมาณ 3-5 กอ

    นอกจากนี้ยังจัดโปรโมชั่่นให้แก่ชาวไร่เพื่่อจููงใจให้ช่วยกันตรวจสอบและกำจัดโรค โดยจ่ายค่าเว้นกอใบขาว กอละ 500 กีบ เป็นต้น และเราให้ความสำคัญกับการปรับสัดส่วนพันธุ์ด้วย เช่นกัน

    ปัจจุุบันมิตรลาวใช้พันธุ์ขอนแก่น 3 60% พันธุ์ใหม่ 40% และมีแผนปรับลดการใช้พันธุ์ขอนแก่น 3 เหลือ 40% และเพิ่มพันธุ์ใหม่ 60% ในอนาคต โดยเน้นไปที่การเลือกใช้พันธุ์ให้ถููกต้องและเหมาะสมใน

    แต่ละพื้นที่่ เช่น พื้้นที่่ชลประทาน ดินดี น้ำดี ควรใช้พันธุ์อะไร หรือพื้นที่่ดินทราย ดินร่วนปนทราย ควรใช้พันธุ์อะไร และดินปนลููกรังจะใช้พันธุ์อะไร เป็นต้น

  2. การจัดการแมลงพาหะนำโรคใบขาวได้ดำเนินการควบคุุมแมลงพาหะโรคใบขาว โดยใช้กับดักแสงไฟ และกับดักกาวเหนียว ควบคุุมตลอดฤดููกาลปลููกอ้อย โดยในพื้นที่ที่มีระบบไฟฟ้าเข้าถึง ได้ทำการติดตั้้งกับดักแสงไฟ (light trap) ชนิดหลอด black light blue ขนาด 20 วัตต์ ส่วนในพื้นที่่ที่ระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ทำการติดกับดักกาวเหนียวที่่มีสีเหลือง โดยติดห่างจากขอบแปลงประมาณ 10-20 เซนติเมตร สููงจากพื้นดินประมาณ 50-60 เซนติเมตร ระยะห่าง ประมาณ 10-15 เมตรต่อจุุด หรือใช้ประมาณ 15-20 แผ่นต่อพื้นที่ 1 ไร่
  3. ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถููกต้องให้กับชาวไร่อ้อย อบรมแก่ชาวไร่และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง

    ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เพื่อให้ชาวไร่มีความรู้ความเข้าใจ ในการป้องกันและควบคุุมโรคใบขาวอย่างถููกต้อง รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาของโรคใบขาวร่วมกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ปัญหาของโรคใบขาวได้อย่างยั่งยืน จนเกิดปฏิทินใหม่ในการปลููกอ้อยของมิตรลาว (เตรียมดิน-ปลููก -ฉีดยาคุุม-ขุุดใบขาว-แต่งหน้า-ติดกาวเหนียว -ดููแล/เฝ้าระวัง-เก็บเกี่ยว )

  4. ร่วมกันสร้างระบบการจัดการที่ดี ปรับโครงสร้างองค์กร โดยมีทีมที่รับผิดชอบโดยตรง ทำหน้าที่สำรวจ ตรวจแปลงอ้อยทุกแปลง ตรวจรับงานขุุดทำลายอ้อยใบขาว ทั้งไร่บริษัทและแปลงอ้อยของชาวไร่

    พาชาวไร่อ้อยติดกับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ จัดทำข้อมููลการระบาดของโรคใบขาวรายแปลง จัดทำข้อมููล สถิติประชากรแมลงพาหะ เฝ้าระวังการระบาดของโรคใบขาวทุกแปลงทั้งอ้อยปลููก และอ้อยตอ

  5. นำเทคโนโลยีมาใช้สถานีตรวจอากาศ เป็นเครื่องมือที่ใช้หาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพอากาศ เช่น ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ ปริมาณน้ำฝน อุุณหภููมิ ฯลฯ กับข้อมููลประชากรแมลงพาหะโดยสุ่มนับประชากรแมลงพาหะจากกับดักกาวเหนียวในพื้นที่ตัวแทน ร่วมกับข้อมููล เปอร์เซ็นต์โรคใบขาว ใช้ในการคาดการณ์ถึงแนวโน้มของประชากรแมลงพาหะ และความรุุนแรงของโรคใบขาว ในการวางแผนควบคุุมประชากรแมลงพาหะและการระบาดของโรคใบขาวได้ทันท่วงที

จากการดำเนินการควบคุุมโรคใบขาว โดยใช้เทคโนโลยีการควบคุุมโรคใบขาวแบบบููรณาการร่วมกับการจัดการแปลงอย่างเป็นระบบ ปัจจุุบันสามารถลดความรุุนแรงของโรคใบขาวในพื้นที่ปลููกอ้อยของมิตรลาวได้โดยในอ้อยปลููกมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคใบขาวเฉลี่ย 1-2% ในอ้อยตอเฉลี่ย 3-4% ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นทั้้งในอ้อยปลููก และอ้อยตอ เฉลี่ย 1-2 ตันต่อไร่ สามารถไว้ตอได้มากขึ้นกว่า 50% คิดเป็นมููลค่าที่่เพิ่มขึ้น 300 ล้านบาทต่อปี

ทั้้งนี้การควบคุุมโรคใบขาวในพื้นที่่ปลููกอ้อยของ บริษัทน้ำตาลมิตรลาว จำกัด จะไม่ประสบความสำเร็จ หากไม่มีความร่วมมือกันในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านอ้อย ด้านโรงงานและชาวไร่อ้อย ฯลฯ ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีการควบคุุมโรคใบขาวอ้อย ซึ่งผลจากการดำเนินการเพื่อควบคุุมการระบาดของโรคใบขาวดังกล่าว ทำให้ชาวไร่อ้อยมีกำไร โดยไม่ต้องลงทุุนปลููกอ้อยใหม่ โรงงานมีความมั่นคงทางด้านวัตถุุดิบ และส่งผลให้เกิดความยั่งยืนของการทำธุรกิจอ้อยและน้ำตาลในพื้นที่่ ส.ป.ป. ลาว

มิตรผลโมเดิร์นฟาร์มหวังว่าเคล็ดลับการจัดการโรคใบขาวจากมิตรลาวที่่นำมาฝากในวันนี้ จะเป็นประโยชน์กับพี่่น้องมิตรชาวไร่คนไทยไม่มากก็น้อยนะคะ

ที่มา : วารสารมิตรชาวไร่ โดย คุุณเริ่่มพงษ์ คลังภููเขียว หัวหน้าโครงการควบคุุมและกำจัดโรคใบขาวอ้อย มิตรลาว

 

ข่าวปักหมุด