หน้าแรก

สวัสดีค่ะมิตรชาวไร่ ปัญหาสุขภาพเป็นปัญหาที่เราทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนที่เรารักจริงไหมคะ เพราะนอกจากจะเจ็บป่วย ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวแล้ว ยังต้องมีเรื่องของการเสียเวลาพักผ่อน ดูแลร่างกายให้หายดี และค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาโรคภัยนั้น ๆ ด้วย

โรคภัยบางประเภทมักมาพร้อมกับอายุและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย แต่หากเรารู้ทันและป้องกันตัวเองอย่างดี โอกาสที่จะเกิดโรคก็น้อยลง เมื่อเทียบกับคนอื่นที่ปล่อยชีวิตจอย ๆ ไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนัก

วันนี้ขอยกตัวอย่างโรคกระดูพรุน โรคใกล้ตัว ตามวัย ใคร ๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ โดยกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือ กระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน ผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มกาแฟ นั่งทำงานเป็นเวลานาน ขาดการออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ธัยรอยด์ มะเร็ง ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ไต และโรคเลือด รวมถึงผู้ที่ใช้ยาประจำ เช่น ยากันชัก ยารักษาโรครูมาตอยด์ ยาลูกกลอนที่ผสมสเตียรอยด์

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่เนื้อกระดูกบางจากการสูญเสียแคลเซียม ทำให้กระดูกไม่แข็งแรง ผุกร่อน รับน้ำหนักได้ไม่ดี หากเกิดการบาดเจ็บ กระทบกระแทก หรือแค่ยกของหนักเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกหักได้ง่าย อาการสำคัญของโรคกระดูกพรุน คือ ปวดตามกระดูกโดยเฉพาะกระดูกส่วนกลางที่รับน้ำหนัก เช่น กระดูกสันหลัง สะโพก รวมถึงข้อต่างๆ ต่อมาหลังจะโก่งค่อม ตัวเตี้ยลงเนื่องจากกระดูกสันหลังยุบตัวลง ทำให้ปวดหลังมาก เคลื่อนไหวตัวลำบาก

7 วิธีการป้องกันโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้ดังนี้

  1. การออกกำลังกาย
  2. งดสูบบุหรี่
  3. งดดื่มเหล้า
  4. ไม่ดื่มน้ำอัดลม
  5. งดดื่มกาแฟ
  6. ไม่รับประทานอาหารรสเค็มจัด
  7. ไม่ใช้ยาลูกกลอน

เนื่องจากอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวด้านบน มีความเป็นกรดสูง ทำให้มวลกระดูกลดต่ำกว่าเกณฑ์ ที่สำคัญควรเพิ่มอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง เช่น นม ผลิดภัณฑ์นม ปลาตัวเล็กที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก เนยแข็ง ผักใบเขียว เน้นรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยทำให้ร่างกายห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ

ขอบคุณที่มาข้อมูล-ภาพ

https://www.thaihealth.or.th/

https://www.synphaet.co.th/

 

 

ข่าวปักหมุด